visual ที่ใช้เปลี่ยนแปลงไปตามความเข้าใจของผู้ออกแบบ จากการมองว่าคอร์รัปชัน คือการกระทำของบุคคลต่อบุคคล
ก็ขยายไปสู่การมองภาพรวมของทั้งระบบ
และมองเห็นได้ยาก..
เพราะหลักใหญ่ใจความในการคอร์รัปชันที่หนังสือเล่มนี้พูดถึง จึงมิใช่ปัญหาจากสันดานหรือวิจารณญาณส่วนตัวเท่านั้น แต่มีตัวแปรหลักที่ปรากฏในสมการคือ
Monopoly (การผูกขาด)
Discretion (การใช้ดุลยพินิจ)
Accountability (กลไกความรับผิดชอบ)
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นนามธรรม เป็นวัฒนธรรมที่กลืนอยู่ในสังคมไทย มองเห็นได้อยาก เหมือนปลาอาศัยในน้ำ ค่อยๆ เน่า หรือกบเป็นๆ ที่อยู่ในหม้อต้มเพิ่งตั้งไฟ
ภาพที่ใช้จึงหยิบสถานการณ์ที่ ‘คนจำนวนมากกำลังสูญเสียประโยชน์ โดยที่ไม่รู้ตัว’
ใช้ลายเส้นเรียบๆ ที่ลดทอนรายละเอียดของหน้าตาออก เพราะไม่ต้องการโน้มน้าวอารมณ์มากเกินไป
ปกหนังสือเล่มนี้ผ่านการปรับแบบและเช็คความเข้าใจเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ ซึ่งตรงส่วนนี้ต้องขอบคุณบรรณาธิการ ที่ไกด์ direction แชร์ไอเดีย จนตอบโจทย์ประเด็นหลักของหนังสือได้ครบถ้วน
สมการคอร์รัปชัน
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
มีนาคม 2017