book design

สืบทฤษฎี สาววิธีคิด: การเดินทางของมานุษยวิทยา

การเดินทางของศาสตร์ที่ชื่อว่า ‘มานุษยวิทยา’ ในประเทศไทย

นับว่าเป็นเล่มที่ออกแบบยาก เหตุเพราะเนื้อหาค่อนข้างกว้าง รวมถึงมีความพยายามจะเป็นหลายสิ่งหลายอย่างเหลือเกิน

ไม่ว่าจะเป็นทั้ง textbook ที่นักศึกษาควรจะอ่าน เป็นหนังสือเล่มใหญ่ในวาระ 30 ปีของศูนย์มานุษยวิทยาสิริรธร เป็นหนังสือความรู้ทางมานุษยวิทยาที่เป็นมิตรต่อคนทั่วไปที่สนใจ ความอยากจะเป็นที่ว่ามานั้นย่อมมีทั้งส่วนที่ส่งเสริมเกื้อหนุนกันและขัดกันเองในแง่ของ art direction

แต่ทางออกนั้นง่ายกว่าที่คิด เพราะถนนทุกสายล้วนมาบรรจบที่คำว่า dead line

ถัดจากนี้คือแบบปกส่วนหนึ่ง (ยังมีอีกหลายออปชั่น แต่เป็นฝีมือกราฟิกดีไซเนอร์อีกคนในทีม) ที่ค่อยๆ เดินทางมาในระหว่างกระบวนการ

และแบบปกที่ผลิตจริง

Standard
book design

ถอดรหัสประเด็นการศึกษาไทย: ใต้พรมแห่งความดีงาม

หนังสือเล่มเล็กๆ นี้ในระหว่างที่กำลังผลิตต้นฉบับและยังไม่มีชื่อปก คนทำงานเรียกมันว่า ‘มายาคติการศึกษา’

คำว่ามายาคตินั้นจึงเป็นคีย์เวิร์ดของการออกแบบเลย์เอาท์ อันได้แก่ภาพเปิดบท ที่ตั้งใจให้เป็นการเล่นกับ illusion และรูปทรงลวงตาต่างๆ

แต่แน่นอนว่าเราอาจจะวาง art direction แบบหนึ่ง แต่ในการทำงานเป็นทีม เคมีของคนทำที่แตกต่างไปก็อาจให้ผลลัพธ์ออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง

ด้านบนคือปรูฟสีจากโรงพิมพ์ งานเลเอาท์หนังสือเล่มนี้เป็นงานพิมพ์สองสี คือหมึกดำและแดง Pantone 1795 C งานตรวจเช็คในขั้นนี้คือการดูสีบนกระดาษ และเช็คเส้น stroke ว่าบางเกินไปหรือไม่ เพราะความคมชัดของงานเวคเตอร์บนจนสกรีนนั้น อาจไม่คมเท่าที่คาดหวัง เมื่อเป็นการพิมพ์ลงบนวัตถุที่จับต้องได้จริงๆ เช่นกระดาษ

เล่มจริง สังเกตได้ว่าสีแดงนั้นต่างออกไปเล็กน้อย เป็นเรื่องที่คนทำงานสิ่งพิมพ์ต้องปล่อยวาง

แต่ในระหว่างทาง หนังสือเล่มนี้ก็ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

จากคำว่า ‘มายาคติ’ อันจับต้องได้ยากและมีความเป็นนามธรรมสูง ซึ่งแผนแรกของการออกแบบปกคือจะใช้ typography ในแนวทางเดียวกับการทำกราฟิกเปิดบท ทางผู้จัดทำสรุปสุดท้ายชื่อเล่มหนังสือว่า ‘ถอดรหัสประเด็นการศึกษาไทย: ใต้พรมแห่งความดีงาม’ ซึ่งเสมือนการพลิกกลับขั้วจากนามธรรมมาสู่รูปธรรม เพราะฉะนั้นแบบปกจึงเปลี่ยนวิธีคิดทันที

แบบปกดราฟแรก

นับว่าเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างฉุกละหุก ในระหว่างการนำเสนอ มีอีกสองแบบของนักออกแบบร่วมทีม แต่ถูกปัดตกไป หลังจากเลือกปกแล้ว มีเพียงการปรับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น เช่น ชื่อหน่วยงาน wording ต่างๆ หรือราคาปก

แบบปกสำเร็จ

บรรณาธิการเล่ม
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

กองบรรณาธิการ
รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา / อรสา ศรีดาวเรือง 

บรรณาธิการศิลปกรรม
ณขวัญ ศรีอรุโณทัย 

ศิลปกรรม
บัว คำดี / ณัฎฐณิชา นาสมรูป

จัดพิมพ์โดย

โครงการผู้นำแห่งอนาคต: ร่วมสร้างสังคมแห่งการเกื้อกูล
คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กรกฎาคม 2564

Standard
others

Deaths in April-May 2010

19 พฤษภาคม 2564 ครบรอบ 11 ปี จุดสิ้นสุดของการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ที่ดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน จนกระทั่งสิ้นสุดลงในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 

การใช้กำลังอาวุธเข้าสลายการชุมนุมประชาชนครั้งนั้น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 94 คน บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ถัดจากนั้นมีการกวาดจับประชาชนภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีกนับพันคน 

พ้นไปจากบาดแผลของผู้สูญเสีย ญาติ พี่น้อง มิตรสหาย ฯลฯ มีข้อเท็จจริงจำนวนมากปรากฏขึ้นหลังจากนั้น ย้ำให้สังคมไทยเห็นว่า ทุกๆ ชีวิต ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม และจนกว่าบ้านเมืองจะกลับมามีประชาธิปไตย วิธีการหนึ่งที่ไม่เดินกลับไปซ้ำความรุนแรงทางการเมืองโดยรัฐอีก คือการรำลึกถึงเขาและเธอเหล่านั้น ด้วยการจดจำ

เผยแพร่ครั้งแรกที่ waymagazine.org
https://www.facebook.com/waymagazine/posts/10157784295031456

Standard