magazine design, portfolio

WAY#90 – The 9th Anniversary

way ฉบับแรกปรากฏโฉมในขณะที่ผมเพิ่งพ้นรั้วของโรงเรียนออกแบบแห่งหนึ่ง แต่ผมจำได้แม่นว่าผมซื้ออ่านโดยเริ่มจากฉบับที่ 2 โดยมีเหตุผลว่าชอบ design และถูกใจในรสนิยมของการจัดรูปเล่ม

สองปีแรกของการทำงานในฐานะกราฟิกดีไซเนอร์ เป็นช่วงของการเผาตัวเองให้มอดไหม้ เหนื่อยแต่ก็ร้อนแรง (ตามประสาของผมอะนะ มิได้เปล่งแสงแก่โลกภายนอกหรอก แต่สว่างกระจ่างจนผมรู้สึกว่าฉากตอนหลายอย่างและความรู้สึกเก่าๆ ยังชัดเจน) ผมจำได้ดีว่าตัวเองรู้สึกอึดอัดขัดข้องกับเหล่าลูกค้าผู้น่ารักทั้งหลาย

ในระหว่างนั้น way มีช่วงพัก ห่างหาย คราวหนึ่งหายไปนานเกือบปีก่อนจะกลับมาด้วยปกใบหน้านนทรีย์ นิมิตบุตร ที่วางตะแคง ผมจำได้แม่นว่าสกู๊ปหลักในเล่มก็ว่างเลย์เอาท์ตะแคง 90 องศา ทำประหนึ่งว่าตัวเองเป็นแท็ปลอยด์ให้คนกางอ่าน

หากมีใครสงสัยว่าเหตุใดนิตยสารบางๆ ฉบับนี้ถึงกล้าเล่นเลอะเทอะหลายสิ่งหลายอย่าง เช่นหัวหนังสือที่ท้าทายการอ่าน แถมยังขยับตำแหน่งแห่งหนตามวาระ ชุดตัวอักษรที่บางช่วงก็สมัครใจใฝ่ในทางฟอนต์สมัครเล่น รวมไปถึงเลย์เอาท์ที่ไม่ค่อยเคร่งครัดกับ template เรียกได้ว่าสนุกสนานเลยเถิดเกินเนื้อหาในบางคราว

นั่นต้องยกภาพประทับใจที่ พี่ก้อง วีรยุทธ คงเทศน์-Art director ยุคก่อตั้ง มอบไว้ให้

นั่นคือคำบอกเล่าโดยไม่ต้องมีคำพูด ว่านิตยสารซีเรียสๆ ก็มีความทะเยอทะยานทางรสนิยมได้

แม้เราจะยังไม่มีโอกาสได้พบเจอกันเลยสักครั้ง ไม่มีห้วงเวลาของการส่งไม้ต่อฝากฝังอันใด แต่ผมจำได้ว่าสายวันนั้น วันของการเริ่มต้นทำงานวันแรกที่ way ผมนั่งชันสูตรไฟล์และ layout เก่าๆ ของ way ฉบับก่อนๆ อย่างกระหายใคร่รู้ — เราไม่เคยได้คุยกัน แต่ผมติดหนี้ทางการออกแบบของ วีรยุทธ์ คงเทศน์ ก้อนใหญ่ทีเดียว

: : :

ผมเริ่มที่ way ฉบับที่ 18 ในระหว่างนั้นแม้ผมจะไม่ได้พบกับอาร์ตไดคนก่อน แต่ผมก็ได้รับการดูแลจาก พี่เอก-เอกชัย รอดโตนด (headaekstudio) ที่รับช่วงต่อจากพี่ก้องในช่วงเล่ม 16-18

พี่เอกแม้จะไม่ได้นั่งประจำที่ออฟฟิศ แต่มาดจอมยุทธ์ฉึบฉับฟาดฟันกำหราบอาร์ทเวิคด้วยดาบเดียวนั้นน่าประทับใจยิ่ง ภาษาทางการออกแบบของพี่เอกนั้นถ้าพูดกันตามตรงก็คือด้านตรงข้ามกับผมเลย มันฉูดฉาดรวดเร็วรุกเร้า แต่ถึงผมจะไม่ได้รับอิทธิพลจากพี่เอกมากนัก (เพราะคนละทาง) แต่มันก็ทำให้ช่วงแรกๆ ของการเริ่มงานที่ way นั้นไม่ทำให้ผม ‘เหวอ’ จนเกินรับ

: : :

ถ้านึกย้อนไปในช่วงของการทำงานที่ way ผมระลึกเสมอว่าตัวเองเป็นเด็กจบใหม่ เพิ่งทำงานมาสองสามปี พอพี่คม – อธิคม คุณาวุฒิ (บก.ในขณะนั้น ก่อนจะกลายเป็น ก็อดฟาเธอร์ ในวันนี้) เอ่ยว่าอยากให้ผมรื้อดีไซน์ใหม่ทั้งเล่ม ผมจึงถือว่าเป็นเกียรติมากที่ได้รับความไว้วางใจ (หรือว่าพี่เขาชอบแทงหวยก็ไม่ทราบ)

ด้วยความห่าม ผมจึงเปลี่ยนหัวหนังสือ เป็น WAY (ปรากฏตั้งแต่ฉบับที่ 31) จนถึงปัจจุบันนี้

นิตยสารไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว ผมเคยเอ่ยถึงเหล่าผู้ร่วมสร้างสีสันมาบ้างแล้ว ที่นี่

แต่ในวาระครบรอบ 9 ปีของนิตยสารฉบับหนึ่ง ชีวิต 2 ปีแรกของมันนั้นเป็นช่วงของการบุกป่าฝ่าดงและถากเส้นทางอันน่าทึ่งเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยความเคารพและแรงบันดาลใจ แด่ผู้มาก่อนครับ.

WAY-cv-skd-1 WAY-cv-skd-2 WAY-cv-skd-3 WAY-cv-skd-4 WAY-cv-skd-5 WAY-cv-skd-6 WAY-cv-skd-7 WAY90MOCKUP

ที่ผนังออฟฟิศหลังโต๊ะพี่คม มีปกเวย์ทุกปกแปะอยู่ เราไล่สายตาดูแล้วก็พบว่า เออ เราแทบจะไม่เคยทำปกสีส้มเลยแฮะ..

Standard
magazine design, way magazine

WAY#88 Yøuth Power!

ทีแรกก็ตั้งใจจะสลักอักษร Youth Power ประกาศศักดาบนโต๊ะนักเรียนแหละครับ

ไอเดียถัดมาคือเขียนบนกระดานดำ แต่อนิจจา โรงเรียนแถวๆ นี้ มีแต่ไวท์บอร์ด

เรานึกๆ คิดๆ กันไปเรื่อย หรือจะทำกราฟิตี้ดี?

IMG_0954-s

คิดวนไปวนมาตามประสาโอลด์สคูล แต่ปัจจุบันการแสดงพลังที่ส่งให้สังคมกระเพื่อมนั้นเริ่ม
ก่อหวอดจากในเครือข่ายสังคมนี่นา…

คิดดังนั้นเราเลยประกาศถ้อยนี้ลงในโทรศัพท์ฉลาดของแต่ละคน

แต่คุณก็เห็น ว่าแม้เยาวชนจะแสดงพลังในโลกออนไลน์ก็จริง แต่การบดขยี้ด้วยอำนาจที่เหนือกว่านั้น ทำให้โลกกายภาพแตกหัก จับจริง เจ็บจริง ได้อย่างที่เห็น.

– – –

Photographer: อนุช ยนตมุติ

Standard
magazine design, way magazine

WAY#87 Authentic Replica Museum

cake cv2

WAY ฉบับนี้ออกแนว conceptual นักประพันธ์หนุ่มประจำออฟฟิศกล่าวไว้ ว่ามันคือ ‘อีกด้านของความจริง’ ไอเดียปกของเราจึงเล่นกับเฟรมของภาพ อันอาจลดทอน หรือกระทั่งบิดเบือนเนื้อหาของภาพนั้นๆ ได้

การเลือก ตัด ต่อ นั้นเป็นสิ่งใกล้ตัวและทำกันอยู่ทุกวัน เหมือนภาพหมู่ หรือกระทั่งภาพถ่ายคู่รัก ซึ่งหลายๆ คนครอปสิ่งที่ไม่ต้องการออก
เมื่อนำมาใช้เป็นโปรไฟล์พิคฯ (ก็แหม รูปนี้ฉันสวย)

แต่นอกจากจะตัดออกแล้ว เครื่องมือและเทคโนโลยีปัจจุบันยังทำให้การ ‘เพิ่มพิกเซล’ นั้นง่ายดายกว่าเดิมมาก

ปกแรกที่เราทำไว้จึงเป็นภาพของสองตัวตั้งตัวตีแห่งงานเทศกาลหนังสือกรุงเทพฯ ที่จะมีในเดือนกรกฎาคมนี้ และดูจากโหงวเฮ้งแล้ว พี่คุ่น (ปราบดา) ของเราควรจะอยู่บนปกหน้า

แต่เรื่องของเรื่องก็คือ วันที่เรากำลังจะเดินทางไปยังที่นัดหมายเพื่อสัมภาษณ์ น้องฝึกงานโพล่งคำถามออกมา ซึ่งทำให้ตัวตนของพวกเราต่างสั่นคลอนระริกๆ

“ปราบดา…ใครเหรอคะ”

ไอเดียนี้จึงพับเก็บลงลิ้นชักโดยพลัน…
เอาวะ ไหนๆ ก็ไหนๆ ถ้าปราบดาบนปกคนเดียวเอาไม่อยู่ งั้นเบิ้ลเป็นแฝดสองเลยก็แล้วกัน.

Screen Shot 2558-06-25 at 4.51.17 PM

บางคนอาจเข้าใจว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นการถ่ายภาพยนตร์ / ตัด-ต่อ โดย ชิน เอกก้านตรง

บางคนอาจเข้าใจว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นการถ่ายภาพยนตร์ / ตัด-ต่อ โดย ชิน เอกก้านตรง

spread

พิพิธภัณฑ์เทียมแห่งนี้ นำเสนออีกด้านของความรู้ แต่จะมีอะไรบ้าง โปรดติดตามได้ในเล่ม

Standard
illustration, magazine design, portfolio, way magazine

WAY#84 The urban poor

 

01 cv84-mock-01
ผมเห็นปก Cereal Magazinel บ่อยๆ ในใจก็นึกผยองอยู่ครามครันว่ามัน ‘น่าจะ’ ทำง่ายดีนะ ได้ภาพ cityscape ที่มีองค์ประกอบไม่ยุงเหยิงมาสักภาพ (อาจทำโดยการอุทิศพื้นที่ให้ท้องฟ้ามากสักหน่อย) วางลงไป หลังจากนั้นก็เลือกชุดอักษรที่มีกลิ่นเข้ากัน

01 cv84-mock-02

…แน่นอนว่ามันผ่านการ process และตัดแต่ง pixel มาอย่างหนักหน่วง สีที่เป็นปัญหามากคือสีเขียว เขียวไหนถึงจะใช่ เขียวไหนถึงจะดูดีมีรสนิยม และสิ่งที่เราไม่ต้องการให้ปรากฏในภาพล่ะ

cityscape ของกรุงเทพฯ คงไม่ใช่ภาพที่เหมาะสักเท่าไร WAY84MagazineMockupV2
มันจะเป็นปกนิตยสารฮิปสเตอร์อีกฉบับหนึ่งเท่านั้นแหละ หากคุณมองผาดๆ และเมื่อพลิกด้านใน อาจจะพบทัศนะอุจาดที่เมืองไม่ต้องการ
แต่ปกแบบนี้ต้องอุทิศหน้ากระดาษให้กับไอเดีย–ที่ไม่ได้น่าตื่นเต้นขนาดนั้น

(ภาพปกถ่ายโดย อนุชิต นิ่มตลุง)

 

01 cv84-experiment-2-01
บทสรุปจึงมาลงที่ภาพนี้

คนเมืองหลงรักพื้นที่สีเขียว ในขณะไล่สายตาไปใน free stock photo ทั้งหลาย ภาพนี้จึงกระแทกสายตาผมอย่างจัง
มันเป็นเมือง มันเป็นคอก มันเป็นกรอบ เป็นสายตาของหนอนที่มองขึ้นสู่ด้านบน
ผมเลยวาดลายเส้นง่ายๆ ประกอบลงไป และจัดวางทุกสิ่งที่ควรจะมีบนปก

คุณคิดว่า ชายข้างบนกำลังจะร่วงลงไป หรือว่าเขาเพียงย่ำลงไปบนพื้นกระจกใสที่กั้นทัศนียภาพข้างล่างให้เป็นของ exotic แปลตา?

(ภาพตึกร้างโดย Liam Andrew Cura)

aboveandbelow-forweb

 

Standard