book design, portfolio

Papa, you’re handsome

PAPA-COVERPAPA-JACKETpapaJacket-DONE-co

พ่อหล่อสอนลูก – Papa, you’re handsome
อธิคม คุณาวุฒิ เขียน
WAY of BOOK, มีนาคม 2559

art direction – antizeptic
ลายเส้นบนแจ็กเก็ต – ถิง ชู (TurquoiseTing)
กราฟิกบนปก – ชิน เอกก้านตรง (Shhhh)

Standard
magazine design, portfolio

WAY#90 – The 9th Anniversary

way ฉบับแรกปรากฏโฉมในขณะที่ผมเพิ่งพ้นรั้วของโรงเรียนออกแบบแห่งหนึ่ง แต่ผมจำได้แม่นว่าผมซื้ออ่านโดยเริ่มจากฉบับที่ 2 โดยมีเหตุผลว่าชอบ design และถูกใจในรสนิยมของการจัดรูปเล่ม

สองปีแรกของการทำงานในฐานะกราฟิกดีไซเนอร์ เป็นช่วงของการเผาตัวเองให้มอดไหม้ เหนื่อยแต่ก็ร้อนแรง (ตามประสาของผมอะนะ มิได้เปล่งแสงแก่โลกภายนอกหรอก แต่สว่างกระจ่างจนผมรู้สึกว่าฉากตอนหลายอย่างและความรู้สึกเก่าๆ ยังชัดเจน) ผมจำได้ดีว่าตัวเองรู้สึกอึดอัดขัดข้องกับเหล่าลูกค้าผู้น่ารักทั้งหลาย

ในระหว่างนั้น way มีช่วงพัก ห่างหาย คราวหนึ่งหายไปนานเกือบปีก่อนจะกลับมาด้วยปกใบหน้านนทรีย์ นิมิตบุตร ที่วางตะแคง ผมจำได้แม่นว่าสกู๊ปหลักในเล่มก็ว่างเลย์เอาท์ตะแคง 90 องศา ทำประหนึ่งว่าตัวเองเป็นแท็ปลอยด์ให้คนกางอ่าน

หากมีใครสงสัยว่าเหตุใดนิตยสารบางๆ ฉบับนี้ถึงกล้าเล่นเลอะเทอะหลายสิ่งหลายอย่าง เช่นหัวหนังสือที่ท้าทายการอ่าน แถมยังขยับตำแหน่งแห่งหนตามวาระ ชุดตัวอักษรที่บางช่วงก็สมัครใจใฝ่ในทางฟอนต์สมัครเล่น รวมไปถึงเลย์เอาท์ที่ไม่ค่อยเคร่งครัดกับ template เรียกได้ว่าสนุกสนานเลยเถิดเกินเนื้อหาในบางคราว

นั่นต้องยกภาพประทับใจที่ พี่ก้อง วีรยุทธ คงเทศน์-Art director ยุคก่อตั้ง มอบไว้ให้

นั่นคือคำบอกเล่าโดยไม่ต้องมีคำพูด ว่านิตยสารซีเรียสๆ ก็มีความทะเยอทะยานทางรสนิยมได้

แม้เราจะยังไม่มีโอกาสได้พบเจอกันเลยสักครั้ง ไม่มีห้วงเวลาของการส่งไม้ต่อฝากฝังอันใด แต่ผมจำได้ว่าสายวันนั้น วันของการเริ่มต้นทำงานวันแรกที่ way ผมนั่งชันสูตรไฟล์และ layout เก่าๆ ของ way ฉบับก่อนๆ อย่างกระหายใคร่รู้ — เราไม่เคยได้คุยกัน แต่ผมติดหนี้ทางการออกแบบของ วีรยุทธ์ คงเทศน์ ก้อนใหญ่ทีเดียว

: : :

ผมเริ่มที่ way ฉบับที่ 18 ในระหว่างนั้นแม้ผมจะไม่ได้พบกับอาร์ตไดคนก่อน แต่ผมก็ได้รับการดูแลจาก พี่เอก-เอกชัย รอดโตนด (headaekstudio) ที่รับช่วงต่อจากพี่ก้องในช่วงเล่ม 16-18

พี่เอกแม้จะไม่ได้นั่งประจำที่ออฟฟิศ แต่มาดจอมยุทธ์ฉึบฉับฟาดฟันกำหราบอาร์ทเวิคด้วยดาบเดียวนั้นน่าประทับใจยิ่ง ภาษาทางการออกแบบของพี่เอกนั้นถ้าพูดกันตามตรงก็คือด้านตรงข้ามกับผมเลย มันฉูดฉาดรวดเร็วรุกเร้า แต่ถึงผมจะไม่ได้รับอิทธิพลจากพี่เอกมากนัก (เพราะคนละทาง) แต่มันก็ทำให้ช่วงแรกๆ ของการเริ่มงานที่ way นั้นไม่ทำให้ผม ‘เหวอ’ จนเกินรับ

: : :

ถ้านึกย้อนไปในช่วงของการทำงานที่ way ผมระลึกเสมอว่าตัวเองเป็นเด็กจบใหม่ เพิ่งทำงานมาสองสามปี พอพี่คม – อธิคม คุณาวุฒิ (บก.ในขณะนั้น ก่อนจะกลายเป็น ก็อดฟาเธอร์ ในวันนี้) เอ่ยว่าอยากให้ผมรื้อดีไซน์ใหม่ทั้งเล่ม ผมจึงถือว่าเป็นเกียรติมากที่ได้รับความไว้วางใจ (หรือว่าพี่เขาชอบแทงหวยก็ไม่ทราบ)

ด้วยความห่าม ผมจึงเปลี่ยนหัวหนังสือ เป็น WAY (ปรากฏตั้งแต่ฉบับที่ 31) จนถึงปัจจุบันนี้

นิตยสารไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว ผมเคยเอ่ยถึงเหล่าผู้ร่วมสร้างสีสันมาบ้างแล้ว ที่นี่

แต่ในวาระครบรอบ 9 ปีของนิตยสารฉบับหนึ่ง ชีวิต 2 ปีแรกของมันนั้นเป็นช่วงของการบุกป่าฝ่าดงและถากเส้นทางอันน่าทึ่งเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยความเคารพและแรงบันดาลใจ แด่ผู้มาก่อนครับ.

WAY-cv-skd-1 WAY-cv-skd-2 WAY-cv-skd-3 WAY-cv-skd-4 WAY-cv-skd-5 WAY-cv-skd-6 WAY-cv-skd-7 WAY90MOCKUP

ที่ผนังออฟฟิศหลังโต๊ะพี่คม มีปกเวย์ทุกปกแปะอยู่ เราไล่สายตาดูแล้วก็พบว่า เออ เราแทบจะไม่เคยทำปกสีส้มเลยแฮะ..

Standard
book design, portfolio

The Lemon Tree, design process

open-uri20130302-31449-12r299w

มะนาวฝรั่ง (lemon) หน้าตาแบบนี้

Screen Shot 2558-05-28 at 6.08.55 PM

โจทย์ของเล่มนี้คือ เล่นกับงานโปรดักชั่นได้เต็มที่ (ปกติโจทย์คือ จงประหยัด 555)

คิดๆ อยู่หลายอย่างจนมาลงที่การเจาะ ซ้อน
เพราะมันเป็นเรื่องของข้อพิพาททับซ้อนบนผืนดินเดียวกัน

Screen Shot 2558-05-28 at 6.08.45 PM

ชื้อรองของหนังสือเล่มนี้คือ A Jew, An Arab in the heart of the middle east

A JEW, AN ARAB จึงอยู่กันคนละเลเยอร์ แต่ทั้งสองต่างทาบทับลงบน The Middle East

Screen Shot 2558-05-28 at 6.09.01 PM

ทุกอย่างไม่ได้คิดแบบเส้นตรงซะทีเดียว ในขณะทดลองเรื่องการซ้อนทับ เราก็ต้องคิดกลับไปกลับมาในองค์ประกอบต่างๆ เช่น สี ชุดฟอนต์ ฯลฯ

Screen Shot 2558-05-28 at 6.09.07 PM

สองจิตสองใจอยู่นานว่าจะเป็นแค่ฟอร์มวงกลม หรือจะเป็นผลมะนาวเลยดี

mock1

ตัดสินใจไม่ได้ก็ลองทำ mockup มาพิจารณา
ฝ่ายบรรณาธิการติงมาว่า สัญลักษณ์จันทร์เสี้ยวนั้นหมายถึงอิสลาม มีคำว่า A Jew บนสัญลักษณ์นั้นอาจจะไม่เหมาะสม

mock2 copy

(ทั้งที่ความหมายโดยนัยของดีไซน์นี้ คือ ที่ราบลุ่มวงพระจันทร์ – The Fertile Crescent ต่างหาก)

Screen Shot 2558-07-15 at 12.21.11 PM

เลยลองคิดถึงการเหลื่อมซ้อนในรูปแบบอื่นๆ ดู

Screen Shot 2558-07-15 at 12.15.54 PM

Screen Shot 2558-07-15 at 12.15.46 PM

Screen Shot 2558-06-29 at 6.42.23 PM

จนสรุปที่ฟอร์มนี้ วงกลม+มะนาว
เดิมทีตั้งใจอยากทำ emboss แต่โรงพิมพ์ไม่แนะนำ เพราะอาจจะเลอะได้เนื่องจากเราพิมพ์ปก 2 ด้าน

Screen Shot 2558-07-10 at 5.28.51 PM

กระดาษปก เลือกใช้ ultra felt มีผิวสัมผัสน่าสนใจ และไม่ทำเทคนิคพิเศษอื่นๆ อีก

IMG_4441

mockup จากโรงพิมพ์ บนกระดาษจริง

Screen Shot 2558-07-10 at 5.30.05 PM

ในระหว่างรอส่วนอื่นๆ ก็ลองสีอื่นๆ ดูบ้าง (ในการปรับแบบช่วงก่อนหน้า จะเห็นว่างาน typography ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ)

แต่สุดท้ายก็จบที่สีเดิม
ฟอนต์ Bebas Neue และ NS Utsaha (ฟอนต์ที่ทำเอง ใช้ในส่วนภาษาไทย)

Screen Shot 2558-07-15 at 11.15.27 AM

Screen Shot 2558-07-15 at 11.15.38 AM

แบบจริง แสดงรอยพับ และ diecut

Screen Shot 2558-07-10 at 5.32.04 PM

box และสิ่งอื่นๆ ใช้พื้นที่ว่างให้คุ้มค่า (ออกแบบเร็วๆ จากสเกตช์ต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้จากขั้นพัฒนาแบบ รวมถึง pattern ที่ทำเล่นๆ ทิ้งๆ ไว้ — ทุกสิ่งที่ทำมีประโยชน์เสมอ ไม่วันนี้ก็วันหน้า)

IMG_4445

ลองพับกล่องจากพริ้นต์ จึงพบว่าลืมปูสีบางด้าน

Screen Shot 2558-07-10 at 5.30.36 PM

ปกเล่มนี้เป็นงานพิมพ์ 3 สี คือ pantone 2 เบอร์ และสีดำ (สำหรับตัวอักษรและบาร์โค้ด)

IMG_4497-s

จบขั้นตอนดีไซน์แล้วก็จริง แต่งานของเรายังไม่จบ มาดูสีจริงบนกระดาษจริงที่โรงพิมพ์

IMG_4496-s IMG_4495

การไล่สกรีนของสีเทา pantone 429 C ดูเรียบร้อยดี

IMG_4512-

แต่ปัญหาอยู่ที่สีเหลือง ความต่างระหว่าง 100% และ 80% นั้นน้อยเกินไป จึงแก้เพลทตอนนั้นเลยเป็น 100% และ 40%

IMG_4494

ทำทุกอย่างที่ควรจะทำไปหมดแล้ว มารอดูเล่มจริงกันนะครับ

– – –

IMG_0395 IMG_0396 IMG_03974stripes

IMG_0402

IMG_0406IMG_0404  IMG_0407 IMG_0410

โดยส่วนตัวนักออกแบบ ผมพอใจงานนี้มากนะ แต่งานแบบนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยด้วยตัวนักออกแบบเพียงส่วนเดียว
ต้องขอบคุณ พี่จ๊อก แห่ง ภาพพิมพ์ ที่ดูแลเรื่องโปรดักชั่นอย่างเอาใจใส่
ขอบคุณผู้จัด เทศกาลหนังสือกรุงเทพ ครั้งที่ 1 ที่เป็นแรงกระตุ้นชั้นดีให้เหล่านักออกแบบได้โชว์ความสามารถ
ขอบคุณผู้บริหารสำนักพิมพ์ ที่ไฟเขียวให้กับค่าโปรดักชั่นที่แพงกว่าปกติ
และสุดท้าย ขอบคุณ ไพรัช แสนสวัสดิ์ ผู้แปล ที่ไว้ใจในรสนิยมของเรา

Standard