book design

ความโดดเดี่ยวของจำนวนเฉพาะ

แบบร่างปกที่ไม่ได้ใช้ของ ‘ความโดดเดี่ยวของจำนวนเฉพาะ’

ส่วนผสม:

  • มัตเตีย ชายหนุ่มผู้ชอบเฉือนผิวหนังตัวเอง
  • อลิเช หญิงสาวประสบอุบัติเหตุจนขากะเผลกหนึ่งข้าง เป็น anorexia
  • ภาพฟิล์ม pre-wedding ของสาวร้าย
  • จำนวนเฉพาะคู่แฝด (twin prime)
  • ไดอะแกรม spiral prime ของ Ulam
  • สมการฟังก์ชัน zeta ของ Riemaan
Standard
book design

สืบทฤษฎี สาววิธีคิด: การเดินทางของมานุษยวิทยา

การเดินทางของศาสตร์ที่ชื่อว่า ‘มานุษยวิทยา’ ในประเทศไทย

นับว่าเป็นเล่มที่ออกแบบยาก เหตุเพราะเนื้อหาค่อนข้างกว้าง รวมถึงมีความพยายามจะเป็นหลายสิ่งหลายอย่างเหลือเกิน

ไม่ว่าจะเป็นทั้ง textbook ที่นักศึกษาควรจะอ่าน เป็นหนังสือเล่มใหญ่ในวาระ 30 ปีของศูนย์มานุษยวิทยาสิริรธร เป็นหนังสือความรู้ทางมานุษยวิทยาที่เป็นมิตรต่อคนทั่วไปที่สนใจ ความอยากจะเป็นที่ว่ามานั้นย่อมมีทั้งส่วนที่ส่งเสริมเกื้อหนุนกันและขัดกันเองในแง่ของ art direction

แต่ทางออกนั้นง่ายกว่าที่คิด เพราะถนนทุกสายล้วนมาบรรจบที่คำว่า dead line

ถัดจากนี้คือแบบปกส่วนหนึ่ง (ยังมีอีกหลายออปชั่น แต่เป็นฝีมือกราฟิกดีไซเนอร์อีกคนในทีม) ที่ค่อยๆ เดินทางมาในระหว่างกระบวนการ

และแบบปกที่ผลิตจริง

Standard
book design

ถอดรหัสประเด็นการศึกษาไทย: ใต้พรมแห่งความดีงาม

หนังสือเล่มเล็กๆ นี้ในระหว่างที่กำลังผลิตต้นฉบับและยังไม่มีชื่อปก คนทำงานเรียกมันว่า ‘มายาคติการศึกษา’

คำว่ามายาคตินั้นจึงเป็นคีย์เวิร์ดของการออกแบบเลย์เอาท์ อันได้แก่ภาพเปิดบท ที่ตั้งใจให้เป็นการเล่นกับ illusion และรูปทรงลวงตาต่างๆ

แต่แน่นอนว่าเราอาจจะวาง art direction แบบหนึ่ง แต่ในการทำงานเป็นทีม เคมีของคนทำที่แตกต่างไปก็อาจให้ผลลัพธ์ออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง

ด้านบนคือปรูฟสีจากโรงพิมพ์ งานเลเอาท์หนังสือเล่มนี้เป็นงานพิมพ์สองสี คือหมึกดำและแดง Pantone 1795 C งานตรวจเช็คในขั้นนี้คือการดูสีบนกระดาษ และเช็คเส้น stroke ว่าบางเกินไปหรือไม่ เพราะความคมชัดของงานเวคเตอร์บนจนสกรีนนั้น อาจไม่คมเท่าที่คาดหวัง เมื่อเป็นการพิมพ์ลงบนวัตถุที่จับต้องได้จริงๆ เช่นกระดาษ

เล่มจริง สังเกตได้ว่าสีแดงนั้นต่างออกไปเล็กน้อย เป็นเรื่องที่คนทำงานสิ่งพิมพ์ต้องปล่อยวาง

แต่ในระหว่างทาง หนังสือเล่มนี้ก็ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

จากคำว่า ‘มายาคติ’ อันจับต้องได้ยากและมีความเป็นนามธรรมสูง ซึ่งแผนแรกของการออกแบบปกคือจะใช้ typography ในแนวทางเดียวกับการทำกราฟิกเปิดบท ทางผู้จัดทำสรุปสุดท้ายชื่อเล่มหนังสือว่า ‘ถอดรหัสประเด็นการศึกษาไทย: ใต้พรมแห่งความดีงาม’ ซึ่งเสมือนการพลิกกลับขั้วจากนามธรรมมาสู่รูปธรรม เพราะฉะนั้นแบบปกจึงเปลี่ยนวิธีคิดทันที

แบบปกดราฟแรก

นับว่าเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างฉุกละหุก ในระหว่างการนำเสนอ มีอีกสองแบบของนักออกแบบร่วมทีม แต่ถูกปัดตกไป หลังจากเลือกปกแล้ว มีเพียงการปรับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น เช่น ชื่อหน่วยงาน wording ต่างๆ หรือราคาปก

แบบปกสำเร็จ

บรรณาธิการเล่ม
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

กองบรรณาธิการ
รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา / อรสา ศรีดาวเรือง 

บรรณาธิการศิลปกรรม
ณขวัญ ศรีอรุโณทัย 

ศิลปกรรม
บัว คำดี / ณัฎฐณิชา นาสมรูป

จัดพิมพ์โดย

โครงการผู้นำแห่งอนาคต: ร่วมสร้างสังคมแห่งการเกื้อกูล
คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กรกฎาคม 2564

Standard
book design

หนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจ ผศ.ภญ.สำลี ใจดี

ทำงานหนักอย่างขุนเขา จากไปอย่างเบาสบาย:
อนุสรณ์งานบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงสำลี ใจดี

icon เป็นกิมมิคเล็กๆ ในเล่ม เพราะงานชิ้นสุดท้ายของ อ.สำลี ใจดี คือการผลักดันกัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์

แบบที่ไม่ได้ใช้#1
แบบที่ไม่ได้ใช้#2

จัดพิมพ์โดยเหล่าลูกศิษย์ เภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Standard